ทันทีที่โลกออนไลน์เข้ามามีบทบาทกับรูปแบบการทำงานตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทุกอย่างรอบตัวก็เหมือนจะเดินหน้าเร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว แน่นอนว่าส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นตามไปด้วย การเข้าถึงข้อมูลที่สะดวกขึ้นทำให้ความเลื่อมล้ำด้านข้อมูลในตัวบุคคลหรือองค์กรไม่มีเหมือนในสมัยก่อน ยุคแห่งการแข่งขันด้วยข้อมูลจึงหมดไปและกลายเป็นการวัดฝีมือกันที่ความคิดสร้างสรรค์แทน ที่เห็นชัดๆ ก็คือกลุ่มเจ้าของธุรกิจที่ต้องสรรหาไอเดียใหม่ๆ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายแบบที่สามารถดึงดูดใจได้ในทันที และกลุ่มของพนักงานออฟฟิศที่ต้องแก้โจทย์ของงานที่ซับซ้อนมากขึ้นของบริษัท วิธีการค้นหาไอเดียเด็ดๆ ที่ใช้ได้ดีและมีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งก็คือ การระดมสมอง หรือ Brainstorming นั่นเองค่ะ
Brainstorming หรือ การผลิตความคิดเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันเป็นกลุ่ม พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือการช่วยกันคิดหาทางออกหรือแก้ปัญหานั่นเอง แต่จะไม่เหมือนการนั่งรวมกลุ่มทั่วๆไปที่ต่างคนก็ต่างแสดงความคิดเห็นกันไปเรื่อยเปื่อย การ Brainstorming แบบที่สร้างสรรค์ผลงานได้จริงจึงต้องยึดหลักสำคัญ 2 ข้อ นั่นคือ เน้นปริมาณ และ ไม่ด่วนตัดสิน เหตุผลก็คือยิ่งเรามีปริมาณของไอเดียมากเท่าไรก็ยิ่งมองเห็นโอกาสในการแก้ปัญหาได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น และการวิจารณ์หรือตัดสินว่าถูกหรือผิดในทันทีจะเป็นการปิดกั้นความเป็นอิสระทางความคิดทำให้การคิดนอกกรอบหยุดชะงักไป
ขั้นตอนในการระดมสมองมีดังนี้
1. ตีกรอบหรือกำหนดขอบเขตของปัญหาก่อนเสมอ เพื่อให้การระดมสมองไม่ฟุ้งจนออกนอกเรื่องไกลเกินไปจนใช้ประโยชน์ไม่ได้เลย และชี้แจงให้ทุกคนเข้าใจถึงเป้าหมายสุดท้ายของการแก้ปัญหาครั้งนี้ว่าอะไรคือสิ่งที่ต้องการ
2. เริ่มระดมสมองอย่างเต็มที่ โดยขั้นตอนนี้ควรกำหนดเวลาเอาไว้ด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความยืดเยื้อ เช่น 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ทุกคนสามารถเสนอไอเดียได้อย่างอิสระเสรีอย่างน้อยคนละ 1 ไอเดีย โดยเขียนไอเดียลงในกระดาษโน้ตแบบมีกาวในตัวแผ่นเล็กๆ และที่สำคัญ ต้องไม่มีการ kill idea อันไหนเด็ดขาด! เพราะการทำแบบนั้นจะทำให้สมาชิกในทีมของคุณไม่กล้าแสดงความคิดเห็นอะไรอีกเลย
3. จัดกลุ่มของไอเดียทั้งหมดที่ได้มา โดยเลือกไอเดียที่มี theme เดียวกันหรือพูดถึงเรื่องที่คล้ายๆ กันเอาไว้ด้วยกันเพื่อให้ง่ายต่อการคัดเลือกไอเดีย
4. หลังจากจัดกลุ่มไอเดียที่ได้มาเรียบร้อยแล้ว ให้กลับมาช่วยกันดูความเห็นทั้งหมดบนกระดาษโน้ต อันไหนที่ใช้ไม่ได้แน่ๆ ก็ดึงแผ่นนั้นออก เป็นการตีวงให้แคบลงจนได้ทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ห้ามทิ้งไอเดียเหล่านั้นเด็ดขาด! ให้เก็บรวบรวมไอเดียเหล่านั้นไว้ เพราะไอเดียที่เรามองว่าไม่มีประโยชน์ในวันนี้อาจจะเป็นไอเดียที่มีค่าในอนาคตก็เป็นได้
5. นำทางเลือกที่ได้มาพิจารณาร่วมกันอีกครั้งว่ามีอะไรควรเพิ่มเติมอีกหรือไม่
หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียวอย่างที่เราเคยได้ยินกัน เพราะแต่ละคนมีประสบการณ์ที่ต่างกัน ทุกไอเดียจึงอาจนำมาสร้างเป็นผลงานชั้นเยี่ยมได้ทั้งหมด การระดมสมอง หรือ Brainstorming จึงเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังมากสำหรับการยกระดับการทำงานขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
Credit:
#Brainstorm #Brainstorming #ระดมแนวคิด #หาไอเดีย #คิดไอเดียใหม่ๆ #เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย
#รับทำวิจัยSTATA #รับวิเคราะห์ข้อมูลSTATA #รับทำSTATA #รับแปลผลSTATA #รับทำ#วิทยานิพนธ์STATA