หากคุณอยากพัฒนาผลงานวิจัยให้โดดเด่นกว่าใคร แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร ไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาในส่วนไหนบ้าง ในบทความนี้ เรามี 5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานวิจัย พัฒนาให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1. พัฒนาทักษะด้านภาษา (Language)
ในการทำงานวิจัย การใช้ “ภาษา” สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นจะต้องเรียบเรียงภาษาให้มีความกระชับเข้าใจง่าย และถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับบริบทของงานวิจัยที่ทำการศึกษา
และโดยเฉพาะใช้ในการแปลบทความ หรือการแปลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาอ้างอิงในเนื้อหาข้อมูลในการศึกษาวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสาร (Communication)
ความสามารถทางภาษาจะไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลยหากทักษะในการสื่อสารไม่ได้ถูกพัฒนาตาม เพราะในกระบวนการทำงานวิจัย จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารสำหรับทำการเก็บข้อมูล
เช่น การแจกแบบสอบถาม การแจกแบบสัมภาษณ์ ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญลงแบบบันทึกการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง ในการพูดเชิญชวน ชักชวน โน้มน้าวใจ เพื่อขอความร่วมมือกับกลุ่มตัวอย่างให้ตอบคำถามในแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย
รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่สอบงานวิจัย ฉะนั้น ผู้ที่มีศิลปะในการสื่อสารย่อมมีความได้เปรียบกว่าผู้อื่น เพราะสามารถอธิบาย แถลง การพูดในที่สาธารณะ
3. พัฒนาทักษะทางเทคโนโลยี (Technology)
ในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้หลอมรวมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และสำหรับการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปไกลมาก เปิดกว้างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว สร้างความสะดวกสบายให้สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
อาทิเช่น สามารถเข้าถึงห้องสมุดแบบเต็มรูปแบบผ่าน Application บนอุปกรณ์เคลื่อนต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งต่างจากในอดีตที่ต้องเดินทางเข้าไปที่ห้องสมุดเท่านั้น
ฉะนั้น การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่จำเป็น การติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างการรับ-ส่งอีเมล โปรแกรมคอมพิวเตอร์บางโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Word, Microsoft Excel, Microsoft Powerpoint และโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้สามารถช่วยประกอบการบรรยาย นำเสนองานวิจัยให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
4. พัฒนาทักษะในการวางแผน และ บริหารจัดการ (Planning and Management)
กระบวนการทำงานวิจัยนั้นมีขั้นตอนในการศึกษาที่ละเอียด เพราะถ้าคุณสามารถวางแผนได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน รัดกุม และมีการบริหารจัดการที่ดี เมื่อถึงเวลาที่ลงมือปฏิบัติจริง ผลงานที่ได้ก็จะมีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามที่ต้องการ
การวางแผนและการบริหารจัดการที่ดี ไม่เพียงจะทำให้การทำงานวิจัยของคุณประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยสามารถพัฒนาทักษะในการบริหารในหน้าที่การงานในชีวิตประจำวันให้เติบโตในหน้าที่การงาน มีโอกาสในการทำงานที่ดีขึ้นได้
5. พัฒนาทักษะในการจัดการอารมณ์ (Emotional management)
เพราะการทำงานวิจัยนั้นมีกระบวนการที่ค่อนข้างละเอียด จึงก่อให้เกิดความเครียด ความกดดันมากมาย ซึ่งคุณไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบเจอกับความเครียดรำหว่างที่ทำการศึกษาค้นคว้าได้
ดังนั้นคุณจึงต้องมีความสามารถในจัดการกับอารมณ์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานได้อย่างเข้มแข็ง อย่างมีสติ และชาญฉลาด
รวมทั้งยังนำไปปรับใช้กับการทำงานชีวิตประจำวัน เพื่อรับมือกับเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย หัวหน้า ลูกน้อง ลูกค้าได้
และทั้งหมดนี่คือ 5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร หากคุณสามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้ได้ มันจะช่วยให้เล่มงานวิจัยของคุณมีประสิทธิภาพที่โดดเด่นกว่าใคร และยังช่วยเพิ่มความสามารถในทักษะตัวคุณให้มากยิ่งขึ้น
Credit: