ขั้นตอนในการสอบวิทยานิพนธ์

ขั้นตอนในการสอบวิทยานิพนธ์  1. ก่อนวันสอบวิทยานิพนธ์ – ภายใน 2 สัปดาห์ก่อนสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย – ส่งค าร้องขอสอบปากเปล่าวิทยานิพธน์ (บว.07) โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาลง นามก่อนส่งบัณฑิตวิทยาลัย พร้อมยื่นแบบฟอร์มเสนอประธานการสอบและผู้ทรงคุณวุฒิ (เมื่อส่งแล้วจะได้ใบตามค าร้องมารอประมาณ 1 สัปดาห์) – ส่งบทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสารหรือประชุมวิชาการ โดยผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา – หลังจาก 1 สัปดาห์ (หรืออาจจะเร็วกว่านั้น) ติดตาม บว. 07 ตามเลขที่ค าร้อง – เมื่อได้ บว.07 กลับมาแล้วจะทราบชื่อหรือได้ชื่อประธานการสอบ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามที่ขอเสนอนั้น ให้ด าเนินการติดตามกรรมการ ทั้งหมดรวมทั้งประธานการสอบและผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เพื่อลงนามและนัดวันสอบตามช่วงเวลาดังนี้ – เวลา 09.00 – 12.00 น. – เวลา 13.00 – 16.00 น. – เวลา 16.00 […]

เคล็ดลับในการทำและการสอบปากเปล่า

การสอบปากเปล่า – แบบทดสอบที่ครูขอให้นักเรียนตอบคำถามสอบดัง ๆ – อาจเป็นเรื่องเครียดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่มีหลายวิธีในการเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบที่ไม่ใช่แบบเดิมหรือวิธีการรายงานเช่นนี้ แม้ว่าการสอบในช่องปากจะพบมากที่สุดสำหรับผู้เรียนภาษาที่พวกเขาเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นทั่ววิชาอื่น ๆ เพราะพวกเขาช่วยให้ครูที่จะให้ความสำคัญกับหลักสูตรนักเรียนมีความหลากหลายของ  รูปแบบการเรียนรู้ ประเด็นที่สำคัญ คิดบวกระหว่างการเตรียมสอบ การสอบปากเปล่าอาจทำให้เครียดได้ แต่เป็นการฝึกที่มีคุณค่าสำหรับการสัมภาษณ์ในอนาคต รู้เรื่องของคุณดีกว่าที่คุณคิดว่าคุณต้องการและฝึกใช้การเคลื่อนไหวโดยตั้งใจเพื่อเน้นประเด็นหลักของคุณ อย่าลืมกินอาหารให้เพียงพอนอนหลับให้เพียงพอและดื่มน้ำมาก ๆ ที่จะนำไปสู่การสอบ การออกกำลังกายยังช่วยปลดปล่อยพลังประสาท ใช้เวลาในการตอบคำถามระหว่างการสอบและอย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือหากคุณต้องการ!  คิดในแง่บวก แทนที่จะ psyching ตัวเองออกเกี่ยวกับสิ่งที่อาจจะผิดไปเตือนตัวเองเท่าไหร่ที่คุณได้เรียนรู้และสิ่งที่คุณมีโอกาสที่จะร่วมกับครูของคุณการมองโลกในแง่ดีสามารถขับไล่ความประหม่าและสร้างความตื่นเต้นให้กับการสอบใด ๆ แม้ว่าคุณจะชอบการทดสอบแบบปากกาและกระดาษแบบเดิม แต่การสอบปากเปล่าสามารถช่วยให้คุณประสบความสำเร็จได้นอกเหนือจากในห้องเรียน พวกเขามอบประสบการณ์ที่มีค่าเช่นการสัมภาษณ์เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะทำลายเป้าหมายทางการศึกษาและอาชีพในอนาคตของคุณ คำแนะนำและเคล็ดลับบางประการที่จะช่วยคุณเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบปากเปล่าครั้งต่อไป  รู้เรื่องของคุณ การสอบปากเปล่าให้สำเร็จเริ่มต้นด้วยการรู้เนื้อหาที่คุณจะพูดคุย ส่วนที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการทดสอบประเภทนี้คือคุณมีคำตอบทั้งหมดแล้ว ครูจะไม่ถามคุณในสิ่งที่คุณไม่ได้รับการสอนดังนั้นคุณจะต้องพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาที่นำเสนอให้คุณในการบรรยายข้อความและวิดีโอเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีบางสิ่งที่จะช่วยลดความกดดันในการท่องเนื้อหาที่เรียนรู้นี้ได้                       ขุดลึก วิธีที่ดีที่สุดในการเริ่มเตรียมตัวสำหรับการสอบปากเปล่าคือการให้ความสนใจเป็นส่วนตัวในเนื้อหานั้น ๆ การรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อของคุณมากกว่าสิ่งที่จำเป็นจะช่วยให้คุณคาดเดาคำถามที่ครูของคุณอาจถามได้ นอกจากนี้ยังจะช่วยให้คุณพูดคุยเกี่ยวกับ เรียนรู้เรื่องราวเบื้องหลังของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์นักเขียนนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจแม้ว่าคุณจะไม่คิดว่าจำเป็นก็ตาม การค้นพบทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกจำนวนมากเกิดขึ้นเพียงเพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัวของผู้ค้นพบ คุณรู้ไหมว่าดาร์วินกำลังจะเลิกเดินทางไปกาลาปากอสเพราะพ่อของเขาไม่อนุมัติ บุคคลที่เราต้องขอบคุณสำหรับ […]

การเตรียมตัวสอบเค้าโครง และตอบคำถามในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

การเตรียมตัวสอบเค้าโครง และตอบคำถามในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ การสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจและศักยภาพของนักศึกษาในการทำวิทยานิพนธ์ และคุณภาพของเค้าโครงวิทยานิพนธ์  เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาจะสามารถดำเนินงานวิจัยจนได้ผลงานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ โดยก่อนจะทำการขึ้นสอบ นักศึกษาควรจะต้องมีความเข้าใจในเค้าโครงวิทยานิพนธ์ของตนเองอย่างถ่องแท้ และต้องเตรียมสื่อประกอบการนำเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้เรียบร้อย เช่น  การจัดทำเนื้อหาด้วยโปรแกรม  power  point หรือวิธีอื่นๆ นักศึกษาจะต้อง จัดเตรียมห้องสำหรับการสอบ ทำการนัดหมายอาจารย์ผู้สอบ ซึ่งอาจมีประมาณ 3-5 คน จัดส่งเค้าโครงให้กรรมการสอบอ่านล่วงหน้าอย่างน้อย 5-7 วัน โดยในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์นักศึกษาจะมีเวลาในการเสนออย่างจำกัด ต้องสรุปสาระสำคัญให้กระชับตรงตามเวลา กรรมการสอบ ซึ่งได้ศึกษาเค้าโครงของนักศึกษามาแล้ว  ย่อมต้องการเวลาสำหรับซักถามมากกว่าที่จะฟังรายละเอียดจากการนำเสนอ โดยทั่วไปนักศึกษาทุกคนจะได้รับข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขเค้าโครงวิทยานิพนธ์ไม่มากก็น้อย (บางกรณีอาจสอบตก  ต้องทำใหม่)  ทั้งนี้หากนักศึกษาแน่ใจว่าสิ่งที่ตนคิดไว้มีเหตุผลและดีพอก็ย่อมที่จะชี้แจงและ “defend”  ได้  เพราะการรับข้อเสนอทุกอย่างไปแล้ว อาจเกิดปัญหาใหม่ภายหลังได้  เมื่อเสร็จสิ้นการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์แล้ว  นักศึกษาต้องรีบดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเค้าโครงวิทยานิพนธ์ให้เรียบร้อยโดยเร็วและดำเนินการจัดส่งทันเวลาที่กำหนด ตัวอย่างคำถามในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์           – Why do you want to do this research ? […]

ทำไมสอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน

ทำไมสอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน ธงชัย โรจน์กังสดาล เหตุผลหลายข้อที่ทำให้นักศึกษาปริญญาโททำวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน Credit : Pexels.com บทความนี้เคยตีพิมพ์ในนิตยสาร Go Training ฉบับเดือนมิถุนายน 2552 และเดือนกรกฏาคม 2552 ครับ การทำวิทยานิพนธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยทั่วไปแล้ว ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเรียนเนื้อหารายวิชา แต่มักพบอุปสรรคใหญ่หลวงในการทำวิทยานิพนธ์ ตั้งแต่การหาหัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งมีระเบียบว่า ต้องสอบหัวข้อภายในกี่ปี จากนั้นก็ผ่านเข้าสู่กระบวนการสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ การทำวิทยานิพนธ์ และด่านสุดท้ายคือการสอบวิทยานิพนธ์ จากประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ผมพบนักศึกษาหลายคนที่สอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่านหรือสอบวิทยานิพนธ์ตก ทำให้เรียนไม่จบ ซึ่งน่าเสียดายยิ่ง ผมจึงลองวิเคราะห์สาเหตุที่นักศึกษาสอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน และรวบรวมเหตุผลต่างๆ ในบทความนี้ เพราะผมเชื่อว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโทหรือสนใจจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทครับ Credit : Pexels.com เหตุผลที่สอบวิทยานิพนธ์ไม่ผ่าน 1. เริ่มทำวิทยานิพนธ์ตอนใกล้กำหนดเส้นตายส่ง หลังจากที่สอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ผ่านแล้ว นักศึกษาหลายคนก็โล่งอกที่ผ่านด่านแรกไปได้ และไม่สนใจที่จะรีบทำวิทยานิพนธ์ เพราะคิดว่ายังเหลือเวลาอีกนาน ไม่ต้องรีบร้อนก็ได้ ถ้าเป็นนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรปกติ คือเรียนเต็มเวลาในเวลาราชการ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ทำงาน ทำให้ใช้เวลากลางวันในการทำวิทยานิพนธ์ และนัดพบอาจารย์ที่ปรึกษาได้สะดวก ส่วนนักศึกษาที่เรียนหลักสูตรนอกเวลาราชการ เช่น เรียนตอนเย็นหรือวันเสาร์ อาทิตย์ ส่วนใหญ่มักมีงานประจำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงต้องใช้เวลาหลังเลิกงานเพื่อทำวิทยานิพนธ์ […]

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ ตีความ เขียนรายงานการวิจัย เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบปากเปล่าต่อไป     เพื่อให้การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์สัมฤทธิ์ผลอย่างดี ควรทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบปากเปล่าวิมยานิพนธ์ดังนี้ 5.1 การทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย     ก่อนขึ้นสอบปากเปล่าวิมยานิพนธ์ นิสิต นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย ลงในแผ่นกระดาษขนาด A4 ไม่เกิน 1 หน้า โดยมีสาระผลการวิจัยทั้งหมด ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เข้าใจเรื่องวิจัยอย่างชัดเจน สามารถนำไปดูแล้วอธิบายการวิจัยและสรุปผลการวิจัยได้อย่างกระชับและครบถ้วนโดยไม่ต้องเปิดอ่านในเล่มวิทยานิพนธ์ หลักการในการทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยมีดังนี้ 1.สรุปลงในในแผนกระดาษเพียงแผนเดียวให้คลอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด 2.อาจใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัย 3.อาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ และตารางช่วยให้สรุปอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นได้ 5.2ข้อเสนอแนะการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์     มีข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเกี่ยวกับการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ดังนี้ 5.2.1 ในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ถ้านิสิต นักศึกษาได้เสนอเค้าโครงที่เหมาะสมละเอียด ชัดเจน รอบคอบ รัดกุมในทุกส่วนแล้วก็จะเป็นประโยนช์มาก เพราะเค้าโครงดังกล่าว เป็นเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม ทำให้ผู้วิจัยมีความชัดเจน เป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตาม […]

ปิดงานวิจัย “พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของนักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์

ปิดงานวิจัย “พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของนักศึกษาปริญญาโทธรรมศาสตร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศึกษาพฤติกรรมคนในช่วง COVID-19 ชี้พฤติกรรมแต่ละ Gen มีความแตกต่างกัน บาง Gen อาจคล้ายกันในบางพฤติกรรม วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2564      ย้อนกลับไปช่วงต้นปี 2563 ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 เข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ประเทศถูกล็อกดาวน์ เศรษฐกิจหยุดชะงัก ซบเซา และภาคการศึกษาต้องปรับสู่การเรียนในรูปแบบ Online แน่นอนว่าทุกภาคส่วนล้วนได้รับผลกระทบ มีการปรับตัวกันอย่างกระทันหัน หลายคนบอกว่าเรากำลังก้าวสู่ยุคของ “New Normal” และปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมกว่า 90 ล้านคน      เราไม่อาจทราบได้ว่าสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อใด และในขณะที่เรากำลังต้องเผชิญกับโรคระบาดร้ายอยู่นั้น ผู้อ่านได้สังเกตหรือไม่ว่าเรามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปไม่มากก็น้อยในช่วงนี้      เรามาดูงานวิจัยเรื่อง “การสำรวจพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง COVID-19” ของ นายพชร สุขวิบูลย์ […]