อาจารย์กับการทำงานวิจัย สู่การต่อยอดด้านการสอน<br>“ณ วันนี้งานวิจัยถือเป็นฐานสำคัญในการต่อยอดด้านการศึกษา อาจารย์ผู้สอนจึงต้องทำวิจัยให้มากเพื่อให้การสอนมีความแปลกใหม่และหลากหลาย”

การศึกษาในระดับปริญญาโทนั้น ยังมีหลายๆ คนสงสัยในการเลือกเรียนระหว่างแผน ก กับ แผน ข ซึ่งไม่เข้าใจว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

และแผนไหนจะตรงกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการของเรา ดังนั้นเราขอนำความเห็นจากหลายๆ แหล่งมาประมวลมาให้อ่านกัน ซึ่งอาจจะเป็นแนวทางให้ได้ตัดสินใจกันและหวังว่าคงมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจไม่มากก็น้อย และสิ่งแรกที่ต้องทำคือ ต้องตอบโจทย์ตัวเองให้ได้ก่อนว่า “เราจะเรียนต่อในระดับปริญญาโททำไม? เรียนเพื่อไปทำอะไร?” แผน ก (ทำวิทยานิพนธ์) และ แผน ข (การค้นคว้าอิสระ)หลักสูตรในแผน ก เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “วิทยานิพนธ์” (12 หน่วยกิต)โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเต็มรูป เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ และเพื่อเตรียมตัวสำหรับการศึกษาต่อ ในระดับสูงขึ้นหรือปริญญาเอก (ดร.) ในโอกาสต่อไป โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์ในฐาน TCI ฐาน 2 ขึ้นไป จึงจะสามารถจบการศึกษาได้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเป็นนักวิชาการ อาจารย์ หรืออาจเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ (เป็นการเรียนเชิงลึก) เหมาะกับผู้ที่ชอบการค้นคว้าทำวิจัยหลักสูตรในแผน ข เป็นหลักสูตรที่มีการทำงานวิจัยเป็น “การค้นคว้าอิสระ” (6 หน่วยกิต) โดยมุ่งเน้นทักษะการทำวิจัยเช่นเดียวกัน เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีความสนใจศึกษางานวิจัย เพื่อต้องการนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนางานในหน้าที่ หรือสำหรับผู้ที่มีความต้องการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษตามความสนใจของตนเอง โดยงานวิจัยต้องได้รับการตีพิมพ์หรือการนำเสนอผลงานทางวิชาการด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง จึงจะสามารถจบการศึกษาได้จะเลือกแผนไหนนั้นขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เรียนบางสาขา การทำวิทยานิพนธ์จะมีประโยชน์มากกว่าการค้นคว้าอิสระการวางอนาคต ถ้าต้องการต่อปริญญาเอกหรือทำงานในสายงานวิชาการ วิจัย อาจารย์ การทำวิทยานิพนธ์จะเป็นการฝึกฝนและเตรียมความพร้อมที่ดีมากความถนัดและความชอบส่วนบุคคล ต้องมีเวลาที่จะศึกษาหาข้อมูลเต็มที่อย่างไรก็ตาม จะเลือกแผนไหนก็ได้ แต่ต้องให้ได้ตรงตามเป้าประสงค์ในอนาคตของเรา […]

<strong>การจ้างทำวิทยานิพนธ์ไม่ได้แปลว่า “โง่”</strong>

บทความนี้คุณอาจตกใจนิดหน่อยกับคำว่า “โง่” แต่ขอบอกเลยว่าเมื่ออ่านบทความนี้คุณจะเข้าใจว่าทำไมคนที่จ้างทำวิทยานิพนธ์ หรือว่าจ้างทำวิจัยอื่นๆ ถึงไม่ได้โง่ ถ้าเป็นเช่นนั้นคุณลองตอบคำถามที่เราจะถามต่อไปนี้สัก 2-3 ข้อ  เรามาเริ่มตอบคำถามเหล่านี้ทีละข้อกันดีกว่า เพื่อพิสูจน์ว่าคนจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้น ไม่ได้โง่ !!! 1. ใบปริญญาบัตรที่ได้นั้นจากการศึกษานั้น ได้จากการทำงานวิจัยอย่างเดียวใช่หรือไม่? ในการจบการศึกษาจากรั้วมหาวิทยาลัย โดยได้รับใบปริญญาบัตรและได้สวมชุดครุยนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ thesis เพียงอย่างเดียว ในการเรียนมหาวิทยาลัยมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องเชื่อมโยงกันจึงจะสามารถจบจากรั้วมหาวิทยาลัยได้  ไม่ว่าจะเป็นการจบชั้นปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก นักศึกษาทุกคนต้องเข้าคลาสเพื่อเรียนเอาความรู้ไปใช้ในการสอบ ในการจะจบปริญญาท่านต้องสามารถเข้าใจเนื้อหา และสอบผ่าน ท่านต้องผ่านกระบวนการเหล่านี้มาให้ได้ก่อน ท่านจึงจะได้ทำ thesis หากท่านไม่สามารถสอบผ่านไม่เข้าใจบทเรียนท่านคนถูกรีไทร์ออกไปนานแล้วใช่หรือไม่ 2. หากผู้ว่าจ้างบริษัทรับทำวิจัยไม่ตรวจสอบผลงานวิจัย จะสามารถตอบคำถามอาจารย์ที่ปรึกษา และผ่าน thesis ได้ไหม? การจ้างทำวิจัยถ้าสักแต่ว่าจะจ้างให้บริษัททำอย่างเดียว โดยที่ตัวผู้จ้างไม่ไม่มีความรู้ในการทำวิจัยอยู่เลย อีกทั้งยังไม่ศึกษางานวิจัยที่ทางบริษัทส่งไปให้ จะไม่สามารถตอบคำถามอาจารย์ที่ปรึกษาได้ และจะส่งผลให้ไม่ผ่าน thesis การที่ผู้ว่าจ้างจะจ้างให้บริษัททำงานวิจัยให้สักชิ้น ผู้ว่าจ้างต้องเป็นผู้กำหนดแนวทางการทำงานมาอย่างคร่าวๆ ให้บริษัทรับทำวิจัยเข้าใจและทำงานวิจัยออกมาให้ตรงตามความต้องการของผู้ว่าจ้าง ทำวิทยานิพนธ์  ซึ่งการว่าจ้างทำวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นผู้กำหนดหัวข้องานวิจัย รวมไปถึงกำหนดกรอบแนวคิดและรายละเอียดที่ต้องการให้บริษัทรับทำวิจัยทราบ เพื่อให้งานออกมาตรงตามความต้องการมากที่สุด อีกทั้งผู้จ้างทำวิจัยต้องมีความรู้ ตรวจสอบงานได้ ต้องมีความเข้าใจในเนื้อหางานวิจัยที่ทางบริษัทส่งไปให้  และสิ่งสำคัญผู้จ้างทำวิทยานิพนธ์จะต้องสามารถทำความเข้าใจให้เชื่อมโยงกับวิทยานิพนธ์ของตน และนำข้อมูลความรู้ความเข้าใจไปสื่อสารให้กับอาจารย์ที่ปรึกษาเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่บริษัททำไปให้ จึงจะทำให้การจ้างทำวิจัยประสบความสำเร็จ 100% 3. ระหว่างความรู้ในห้องเรียนกับการทำ thesis อะไรสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต?  ขอบอกตามตรงเลยว่า thesis ไม่ได้นำไปใช้ในชีวิตจริงของท่านอย่างแน่นอน เนื่องจากการทำ thesis นั้นคือการเจาะลึกเพื่อศึกษาอะไรบางอย่างเพียงอย่างเดียวอย่างเจาะจง อาทิเช่น ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าที่มาใช้บริการโรงแรม ศึกษาการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าของกลุ่มวัยรุ่น เป็นต้น  แต่การศึกษาในห้องเรียนคือการศึกษาที่สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง โดยไม่เฉพาะเจาะจง คอนเฟิร์มได้เลยว่าในชีวิตจริงนั้น ในการทำงานท่านจะใช้ความรู้ที่ได้จากเรียนในคลาสมาปรับใช้ในการทำงานมากกว่านำ thesis มาปรับใช้แน่นอน Credit:  #เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation […]

<strong>3 ขั้นตอน วิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย</strong>

ในบทความนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย บอกเล่าถึงลำดับขั้นตอนในการทำงาน และปัญหาเบื้องต้นที่อาจจะพบเจอในระหว่างทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยให้เข้าใจง่ายขึ้น “รวบรวม, จำแนก, วิเคราะห์” ลำดับขั้นตอนทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย 1. รวบรวม โดยทำการรวบรวมข้อมูลจากการออกไปลงพื้นที่เพื่อทำการสอบถามกลุ่มตัวอย่างประชากรที่ได้กำหนดคุณลักษณะไว้ให้ทำแบบสอบถามงานวิจัย และนำมาทำการตรวจสอบว่ากลุ่มประชากรได้ทำการตอบคำถามครบถ้วนหรือ จำนวนประชากรได้ทำการตอบคำถามครบตามจำนวนที่กำหนดไว้หรือไม่  เพราะถ้าหากตอบคำถามแบบสอบถามงานวิจัยไม่ครอบถ้วนและไม่ตรงตามจำนวนประชากรที่กำหนดจะส่งผลทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลคาดเคลื่อน ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และไม่สามารถตอบคำถามที่ตั้งสมมติฐานไว้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน 2. จำแนก เมื่อทำการตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ต่อมาเป็นขั้นตอนของการคีย์ข้อมูลลงในโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ SPSS เพื่อทำการวิเคราะห์ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัย โดยการกำหนดการตั้งค่ารหัสข้อมูลที่ใช้ในการแทนผลต่างๆ ออกมาในรูปแบบสถิติที่ทำการวิเคราะห์ในการทำงานวิจัยนั้นๆ  3. วิเคราะห์ ทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัยออกมาในรูปแบบข้อมูลทางสถิติตามที่กำหนดไว้ในเนื้อหางานวิจัย โดยทำการแปรผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำการเรียบเรียงเนื้อหาที่จะใช้นำเสนองานวิจัย และใช้ตอบคำถามในการทำงานวิจัย 2 ปัญหา 1 ข้อจำกัด ที่มักส่งผลกระทบต่อการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัย 1. ข้อมูลที่ทำการสอบถามได้ไม่ครบถ้วน เป็นปัญหาที่พบประจำในการสำรวจแบบสอบถามงานวิจัย สาเหตุหลักๆ ส่วนใหญ่จะเกิดจากการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการตอบคำถามในแบบสอบถามงานวิจัยไม่ชัดเจน ไม่สามารถสื่อความหมายให้เห็นถึงวัตถุประสงค์การนำไปใช้ ทำให้กลุ่มประชากรตัวอย่างไม่ยินยอมให้ข้อมูลส่วนตัว และไม่ยินยอมที่จะตอบแบบสอบถาม ทำให้ได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและถูกต้องตามความเป็นจริง  2. รายละเอียดคำถามกำกวม ไม่ชัดเจน ปัญหาที่สองเกิดจากคำถามที่ระบุในแบบสอบถามงานวิจัยเป็นคำถามที่ค่อนข้างกำกวม มีรูปประโยคที่วกวนหรืออาจใช้คำที่ไม่ถูกต้อง สะกดผิดไม่ตรงตามหลักภาษา ทำให้ผู้ตอบคำถามเกิดความสับสน ไม่เข้าใจความหมายของคำถามนั้น และอาจเป็นคำถามที่มีรายเอียดไม่ชัดเจนทำให้สื่อความหมายไปอีกทางซึ่งเป็นข้อควรระวัง เพราะอาจก่อให้เกิดอคติกับผู้ตอบคำถามได้ 3. ระยะเวลากระชั้นชิด เป็นข้อจำกัดที่มีผลกระทบมากที่สุด เพราะในการดำเนินกิจกรรมใดๆ ก็ตาม มักจะมี “เวลา” เป็นเครื่องกำหนดทั้งสิ้น ในการทำการวิเคราะห์แบบสอบถามงานวิจัก็เช่นกัน […]

<strong>5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร</strong>

หากคุณอยากพัฒนาผลงานวิจัยให้โดดเด่นกว่าใคร แต่ยังไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร ไม่รู้ว่าจะต้องพัฒนาในส่วนไหนบ้าง ในบทความนี้ เรามี 5 ทักษะที่จำเป็นในการทำงานวิจัย ให้โดดเด่นกว่าใคร เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานวิจัย พัฒนาให้ดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 1. พัฒนาทักษะด้านภาษา (Language) ในการทำงานวิจัย การใช้ “ภาษา” สิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะจำเป็นจะต้องเรียบเรียงภาษาให้มีความกระชับเข้าใจง่าย และถูกต้องตามหลักวิชาการ เหมาะสมกับบริบทของงานวิจัยที่ทำการศึกษา และโดยเฉพาะใช้ในการแปลบทความ หรือการแปลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยต่างประเทศ เพื่อนำมาอ้างอิงในเนื้อหาข้อมูลในการศึกษาวิจัยให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น 2. พัฒนาทักษะในการสื่อสาร (Communication) ความสามารถทางภาษาจะไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลยหากทักษะในการสื่อสารไม่ได้ถูกพัฒนาตาม เพราะในกระบวนการทำงานวิจัย จำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารสำหรับทำการเก็บข้อมูล เช่น การแจกแบบสอบถาม การแจกแบบสัมภาษณ์ ทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญลงแบบบันทึกการสนทนากับกลุ่มตัวอย่าง ในการพูดเชิญชวน ชักชวน โน้มน้าวใจ เพื่อขอความร่วมมือกับกลุ่มตัวอย่างให้ตอบคำถามในแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ที่มีความครบถ้วน ถูกต้อง และเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลในการตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย รวมถึงการนำเสนอผลงานวิจัยต่ออาจารย์ที่ปรึกษา หรือคณะกรรมการที่สอบงานวิจัย ฉะนั้น ผู้ที่มีศิลปะในการสื่อสารย่อมมีความได้เปรียบกว่าผู้อื่น เพราะสามารถอธิบาย แถลง การพูดในที่สาธารณะ 3. พัฒนาทักษะทางเทคโนโลยี (Technology) ในทุกวันนี้เทคโนโลยีได้หลอมรวมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน และสำหรับการศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปไกลมาก เปิดกว้างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว สร้างความสะดวกสบายให้สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น  […]

รวม 26 เว็บไซต์ค้นหางานวิจัยระดับนานาชาติ

Information 233082 hits 07 ตุลาคม 2562 ฝ่ายวิจัย Information รวม 26 เว็บไซต์ค้นหางานวิจัยระดับนานาชาติ ที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณ ProQuestแหล่งค้นหางานวิจัยที่ทุกๆ ปีจะมีวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก และวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเพิ่มขึ้นประมาณ 70,000 ชื่อเรื่อง สำหรับการสืบค้นสามารถได้ 3 แบบ คือ Basic Search, Advanced Search และ Browse ERICฐานข้อมูล ERIC – Educational Resources Information Center เป็นฐานข้อมูลด้านการศึกษา รวบรวมข้อมูลจากทั้งหนังสือ วารสาร รายงานการประชุม งานวิจัย วิทยานิพนธ์ ฯลฯ ข้อมูลที่สืบค้นได้จากฐานข้อมูลนี้จะได้เพียงบรรณานุกรม และสาระสังเขปเท่านั้น ส่วนเรื่องเต็มหากต้องการสามารถสั่งซื้อผ่านบริการของ ERIC ได้ ซึ่งจะมีทางเลือกในการรับข้อมูลหลายรูปแบบในราคาที่แตกต่างกัน ScienceDirectScienceDirect เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรม และเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของสำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier สำนักพิมพ์ Academic […]

ป.โท ม. เอกชน

ปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยกรุงเทพเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้ คณะบริหารธุรกิจ 1.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) หลักสูตรภาษาไทย 2.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA-SMEs) สาขาวิชาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้.. คณะรัฐศาสตร์ 1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ 1.หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ 1.สาขาอิสลา…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกริกมหาวิทยาลัยเกริกเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้ คณะศิลปศาสตร์ 1.หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารองค์การ 2.หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต 3.หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมห…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้.. 1. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) 2.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A. International Program) 3.วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (M.Eng.) …ปริญญาโท มหาวิทยาลัยชินวัตรมหาวิทยาลัยชินวัตรเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้.. หลักสูตรภาษาไทย 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) 2.หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (MSIT) 3.หลักสูตร…ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นเปิดสอนระดับปริญญาโท ดังนี้… 1. หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต M.B.A. 2.หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต M.A. […]

มหาวิทยาลัยของรัฐบาล ที่เปิดสอนระดับปริญญาเอก

ปริญญาเอก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคณะทันตแพทยศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต(หลักสูตรในเวลาราชการ) 1.สาขาวิชาชีววิทยาช่องปาก คณะเภสัชศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญาดุษฎีบัณฑิต(หล…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก คณะเกษตร (Faculty of Agriculture)เปิดสอนระดับปริญญาเอก7 หลักสูตร ได้แก่ 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชากีฏวิทยา 2.หลักสูตร…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดสอนระดับปริญญาเอก ดังนี้ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก จำนวน 65 หลักสูตร ดังนี้ 1. สาขาวิชาทรัพยากรที่ดิน 2. สาขาวิชาทรัพยากรที่ดิน (นานาชาติ) 3. สาขาวิชาพื…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะสังคมศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาเอก 1.หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน 2.หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์ (…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเปิดสอนระดับปริญญาเอก ดังนี้ 1. คณะวิศวกรรมศาสตร์เปิดสอน 9 สาขาวิชา ดังนี้ 1. วิศวกรรมเคมี 2.วิศวกรรมเครื่องกล 3.วิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเ…ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering) 1. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี Chemical […]